Seizure Part 2 / Case Study

ประวัติ:

สุนัขพันธ์ผสม ขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 8 kg อายุประมาณ 6 ปี จากจังหวัดจันทบุรี มีอาการก็ ชัก  3 วันติดกัน ในช่วงปลายเดือน มกราคม หลังชักพบว่ามีอาการเดินวนซ้าย 

จากใบส่งตัวรายงานว่า สุนัขมีอาการชักแบบ status epilepticus คือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด จึงมีการให้ยา แบบ CRI

เจ้าของจึงตัดสินใจนำสุนัขมาตรวจวินิจฉันอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ

Neurological examination:

  • เบลอ การรับรู้ไม่ปกติ
  • เดินวนซ้าย (left circling ) 
  • ตาขวามองไม่เห็น (cortical blindness)
  • ซีกขวาอ่อนแรง (right side weakness)

จากอาการทุกอย่าง บ่งชี้ไปว่ารอยโรคหลักเกิดขึ้นในสมองส่วนหน้าซีกซ้าย (left cerebral cortex)

Differential diagnosis:

  • กลุ่มโรคการอักเสบ (inflammation) เช่น Meningoencephalitis of unknown origin (MUO)

MRI:

cerebral cortex ซีกซ้าย เสียหาย รุนแรง เป็นรอยโรคในลักษณะของการอักเสบ โดย lesion จะอยู่ใน grey matter เป็นหลัก พบในส่วนของ

  • frontal lobe
  • parietal lobe 
  • occipital lobe

จากผล MRI เราสามารถสรุปได้ว่าในรายนี้มีปัญหาภาวะสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แบบ MUO ซึ่งเป็นโรคทางภูมิคุ้มกัน (immune-mediate disease) แบบหนึ่ง

Treatment:

การรักษามุ่งเน้นไปเรื่องของการให้ยากดภูมิคุ้มกันเป็นหลัก เพื่อไม่ให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้น

สัตว์ตอบสนองต่อการรักษาดี อาการของสุนัขเริ่มดีขึ้น ไม่พบอาการชัก และอาการอื่น ๆ

จากนั้น สัตวแพทย์ได้วางแผนการรักษาระยะยาว และทำใบส่งตัวไปที่โรงพยาบาลสัตว์บริเวณใกล้บ้านของเจ้าของ

สรุป:

จากกรณีศึกษาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า อาการ “ชัก” ไม่ใช่โรค เป็นแค่ภาวะที่บ่งบอกถึงการทำงานของสมองที่ผิดปกติเท่านั้น

ซึ่งสาเหตุของการชัก มีได้หลากหลาย เพราะฉะนั้น การวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็วจะช่วยทำการรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น


บทความโดย สพ.ญ.อัญมณี ช่วยบำรุง

Leave a Reply